ข่าวสุขภาพ-การเฝ้าระวัง
#ตรวจพบสายพันธุ์ H3N2 ระบาดเข้ามาในประเทศไทยหลังระบาดหนักที่ฮ่องกงโดยมีผู้เสียชีวิตราว 75 เปอร์เซ็นต์โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ เผยยอดป่วยไข้หวัดใหญ่ปีนี้ในไทยยอดกว่า 1 หมื่นราย ตรวจพบสายพันธุ์ H3N2 ชนิดเดียวกับระบาดในฮ่องกง 50% ส่วนประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 23 ก.พ. 2558 มีรายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ทุกสายพันธุ์ 10,032 ราย เสียชีวิต 8 ราย (0.08%)แบ่งเป็น นครราชสีมา 7 ราย และ ลําพูน 1 ราย ส่วนใหญ่พบเสียชีวิตจากสายพันธุ์ 2009 สิ่งสําคัญคือต้องดูแลสุขภาพตัวเอง เน้นกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ จามควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันการกระจายของโรค ประชาชนส่วนใหญ่กังวลว่า ไข้หวัดใหญ่ฮ่องกงจะระบาดมาไทยและมีความรุนแรง ต้องอาศัยความร่วมมือทุกฝ่าย ก่อนเผยแพร่ข่าวสารใดๆ ขอให้มีการสอบถามอย่างรอบด้าน เพื่อป้องกันการแตกตื่นจนเกินเหตุ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับกระทรวงคมนาคม ขอความร่วมมือการเดินทางต่างๆ โดยเฉพาะสายการบินต่างๆ ว่าหากพบผู้ป่วยมีอาการไอจาม ขอความร่วมมือในการสวมหน้ากากอนามัย โดยจะมีการใช้สโลแกนว่า
“ไอเมื่อไรใส่หน้ากากอนามัย” การตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่เพื่อแยกสายพันธุ์ จะส่งเชื้อตรวจที่สํานักระบาดวิทยา คร. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันวิจัยทางทหารของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2558 พบว่า สายพันธุ์ เอ H3N2 พบมากที่สุดร้อยละ 68 รองลงมาคือ สายพันธุ์บี ร้อยละ 24 และสายพันธุ์ ็H1N1 2009 ร้อยละ 4 ส่วนสายพันธุ์ H3N2 ที่ระบาดหนักในฮ่องกง เป็นสายพันธุ์ เอ สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งแตกต่างจากสายพันธุ์ H3N2 ที่ไทยเคยพบเมื่อปีที่ผ่านมา
ประเทศไทยพบสายพันธุ์ที่ระบาดในฮ่องกงหรือไม่ ?
น่ากังวลมากหรือไม่ ?
ส่วนที่ฮ่องกงมีผู้เสียชีวิตมากเพราะอะไร ?
วัคซีนปีนี้สายพันธุ์จะเปลี่ยนไป? โดยการฉีดจะเลื่อนจากเดิม โดยจะเริ่มรณรงค์ฉีดให้ช่วง พ.ค. นอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยังเตรียมพร้อมยาโอเซลทามิเวียร์ ขณะนี้มีวัตถุดิบในการผลิตประมาณ 3,000 กิโลกรัม สามารถผลิตยาได้ถึง 30 ล้านเม็ด” ขณะนี้ อภ. มียาโอเซลทามิเวียร์อยู่ในสต๊อกประมาณ 1 ล้านเม็ด พร้อมที่จะกระจายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ และมีวัตถุดิบที่พร้อมตอกเม็ดเพื่อใช้ภายในประเทศ เรื่องนี้ไม่ต้องเป็นห่วง อภ. จะดูแลให้ เพราะยาโอเซลทามิเวียร์มีความจําเป็นต่อผู้ป่วยมาก หากได้รับยาล่าช้าจะเกิดความสูญเสียถึงแก่ชีวิต |
10 อันดับโรคที่คนกรุงเทพมหานครป่วยมากที่สุด คือ
1. โรคอุจจาระร่วง จำนวน 35,837 ราย
2. โรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 18,428 ราย
3. โรคตาแดง จำนวน 9,390 ราย
4. โรคมือ เท้า ปาก จำนวน 8,075 ราย
5. โรคปอดอักเสบ จำนวน 7,164 ราย
6. โรคสุกใส จำนวน 5,064 ราย
7. โรคไข้เลือดออก จำนวน 4,238 ราย
8. อาหารเป็นพิษ จำนวน 2,845 ราย
9. โรคบิด จำนวน 296 ราย
10. คางทูม จำนวน 110 ราย
เตือนให้ประชาชนที่มีภูมิต้านทานไม่ดี โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว
ให้ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หลายโรคสามารถมารถป้องกันได้ง่าย ๆ ด้วย คาถา
กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากกากอนามัย และใส่ใจไปรับวัคซีน โรคที่สามารถป้องกัน
ด้วยวัคซีนได้ง่าย ๆ คือโรคไข้หวัดใหญ่ สุกใส และคางทูม ค่ะ
|
#สยองหนุ่มมะกันฟักตัวอ่อนแมลงใต้ผิวหนัง #แมลงวันเบียน #ข่าวการติดเชื้อ นายพิออตร์ แนสเครกกี้ ช่างภาพและนักกีฏวิทยาศึกษาเกี่ยวกับแมลงจากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ของอเมริกา ถูกสิ่งมีชีวิตที่เรียกยุงกัด เป็นจำนวน 3 แผล ขณะเดินทางไปถ่ายภาพที่ประเทศเบลีซ เมื่อช่วงฤดูรอนปีที่ผ่านมา เมื่อเขากลับมาถึงสหรัฐฯ แผลที่ถูกกัดนั้นก็ยังไม่หาย และยังปรากฏ ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ยุงกัดธรรมดา เนื่องจากในการกัดครั้งนั้น มีไข่ตัวอ่อนของแมลงวันตัวเบียนติดมาด้วย |
เฝ้าระวัง “โรคสุกใส” แพร่ระบาดในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ชี้ปี 2557 นี้พบป่วยแล้วกว่า 2 พันราย !!
เฝ้าระวัง “โรคสุกใส” แพร่ระบาดตลอดฤดูหนาว เผยเฉพาะปี 57 รอบ 11 เดือนปีนี้ มีผู้ป่วยเกือบ 8 หมื่นราย เฉลี่ยวันละ 244 ราย จำนวนนี้เสียชีวิต 1 ราย สัญญาณป่วยปีนี้สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 37 แนะจับตาเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังใกล้ชิด ชี้เป็นกลุ่มที่น่าห่วงที่สุด หากติดเชื้อจะมีความเสี่ยงอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น แนะป่วยให้หยุดเรียน หยุดพักทำงาน จนกว่าผื่นตกสะเก็ดหมดแล้วอย่างน้อย 1 วัน
ในช่วงฤดูหนาวนี้ อากาศหนาวเย็น โรคที่มีความเสี่ยงจะระบาดได้ง่าย ก็คือ โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อชนิดนี้ชอบสภาพอากาศเย็นชื้น ในปี 2557 นี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง 22 พฤศจิกายน 2557 สำนักระบาดวิทยา มีผู้ป่วยทั่วประเทศ 79,301 ราย เฉลี่ยวันละ 244 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุ 7 - 24 ปี จำนวนผู้ป่วยมากกว่าปี 2556 ตลอดทั้งปีร้อยละ 37 เป็นสัญญาณว่าโรคอาจแพร่ระบาดมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้ได้ ประชาชนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคทุกวัย มีโอกาสป่วยได้ กลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี มะเร็ง เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น เนื่องจากมีภูมิต้านทานโรคต่ำ หากติดเชื้อแล้ว อาจมีความเสี่ยงอาการรุนแรงกว่ากลุ่มอื่น ในปีนี้มีเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสแล้ว 2,574 ราย ขณะที่ในปี 2556 เด็กกลุ่มนี้ป่วยเพียง 1,712 ราย สาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศได้เตรียมการเฝ้าระวังโรคอีสุกอีใสอย่างใกล้ชิด และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชน ในการป้องกันการเจ็บป่วย และให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เพิ่มมาตรการการดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด
โรคอีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลา (Varicella) เป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด โรคนี้ติดต่อกันได้ง่ายทางการไอ จาม หายใจรดกัน หรือการสัมผัส รวมทั้งการใช้ของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ผ้าปูที่นอน ผ้าห่ม ที่นอน ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น หลังติดเชื้อประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ จะมีอาการป่วย หากเป็นเด็กเล็ก จะเริ่มจากมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร ส่วนผู้ใหญ่จะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีผื่นขึ้นพร้อมๆ กับวันที่เริ่มมีไข้หรือขึ้นหลังมีไข้ 1 วัน บางรายมีตุ่มขึ้นในปาก ทำให้ปากและลิ้นเปื่อย ในระยะแรกจะมีผื่นแดงขึ้นตามตัว ต่อมาผื่นจะกลายเป็นตุ่มใส และค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขุ่นคล้ายหนอง แล้วกระจายไปตามใบหน้า แผ่นหลัง และช่องปาก หลังจากนั้นประมาณ 2-3 วัน ผื่นจะตกสะเก็ด โดยอาการจะหายได้เองภายใน 1 - 3 สัปดาห์
โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ จะใช้วิธีการดูแลประคับประครองอาการที่บ้านได้ เช่น ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัว รับประทานอาหารตามปกติ ที่สำคัญคือ ต้องพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ ในเด็กอาจให้รับประทานไอศกรีมก็ได้ ยาลดไข้ที่ไม่ควรรับประทานคือยาแอสไพริน เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการที่เรียกว่าไรย์ ซินโดรม (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติของสมองและตับเป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ หลังจากพักผ่อนแล้ว อาการจะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น เช่น มีไข้สูง คันมีผื่นตามตัวมากขึ้น หายใจหอบ ชัก ซึมลง แก้วหูอักเสบ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วนให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันการเสียชีวิต
#แพทยสมาคมเน้นชี้สังคมก้มหน้าใช้สมาร์ทโฟนเสี่ยงหมอนรองกระดูกเสื่อม
พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่เริ่มใช้สมาร์ทโฟนมากว่า 2 -3 ปี และใช้วันละไม่ต่ำกว่า 10 ชม. ทำให้บางคนเริ่มมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ คอ และปวดหัว ขณะเดียวกันมีผลวิจัยของแพทย์ชาวอเมริกันถูกส่งต่อในสื่อสังคมออนไลน์ ระบุถึงโรคเท็กซ์เนคที่เกิดจากการก้มหน้าบ่อยๆ นานกว่าปกติ จนทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น กระดูก และเส้นประสาทในบริเวณไหล่ คอ ต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วยการถ่วงไปข้างหน้า ดึงรั้งกล้ามเนื้อเส้นเอ็นทั้งหมดให้แบกรับด้วย ซึ่งการก้มหน้า 60 องศา คอจะรับน้ำหนักประมาณ 27 กก. ขณะที่คอตั้งตรง 0 องศา คอจะรับน้ำหนักประมาณ 5 กก.
โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังและข้อไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่าเริ่มมีผู้ป่วยวัยรุ่นมารักษามากขึ้น ซึ่งการใช้สมาร์ทโฟนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หมอนรองกระดูกและกล้ามเนื้อปวดเฉียบพลัน โดยต้องเฝ้าระวังอาการปวดร้าวลงตามแขน คอ บ่า ไหล่ นิ้วมืออ่อนแรง ขณะที่การรักษาจะต้องดูเป็นรายบุคคล มีทั้งการให้ยา กายภาพบำบัดและการผ่าตัด พร้อมแนะนำการใช้สมาร์ทโฟนว่าไม่ควรก้มหน้าเกิน 60 องศา สมาร์ทโฟนอยู่ระดับสายตา 1 ฟุต และไม่เล่นต่อเนื่องเกิน 2 ชม.
#แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
|
-
# สธ.เผยพบป่วยไข้เลือดออก 6 พันรายเร่งกำจัดยุ่งลาย และกิจกรรม 5 ป 1 ข. กระทรวงสาธารณสุข เผย รอบเกือบ 5 เดือนปีนี้ พบป่วยไข้เลือดอก 6,000 กว่าราย เสียชีวิต 4 ราย เร่งทุกพื้นที่กำจัด...
-
น้ำตานางเงือก!!....อันตรายใกล้ตัวลูกคุณ หลายคนคงคุ้นชื่อกับวัตถุดูดน้ำหรือ ตัวดูดน้ำที่มีการระวางโทษและให้หยุดจำหน่าย เมื่อเกิดเหตุการณ์อันตรายในเด็กในหลายปีก่อน จนตอนนี้ข่าวซา ๆ ล...
-
พบการระบาดของไข้หวัดนก สายพันธ์ H5N6 ที่จีนรายแรกพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสู่คน สายพันธ์ุ H5N6 ในชายอายุ 49 ปีที่มนฑลเสฉวน เป็นครั้งแรกและเสียชีวิตไปจากภาวะปอดอักเสบรุนแรงหลังจาก...
กินียันไวรัสอีโบลาต้นตอโรคระบาดร้ายแรง
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโกนากรีประเทศกินี ว่ากระทรวงสาธารณสุขกำลังหาทาง ที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา ที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงอยู่ในขณะนี้ในป่าทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งก็พบผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งหมด 59 ศพและได้ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยไว้แล้ว 80 รายด้วยกัน
นายซาโคบาเคอิตา เจ้าหน้าที่กองควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่าไวรัสอีโบลา ระบาดอยู่ในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศกินีรวมทั้งจังหวัดกึคเคดูและมาเซนตามาตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาหรือวัคซีนป้องกันไวรัสอีโบลา ซึ่งสามารถคร่าชีวิตผู้ป่วยประมาณร้อยละ 25-90 หากติดเชื้อซึ่งก็จะแสดงอาการป่วยออกมาแต่ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์และไวรัสอีโบลาติดต่อกันได้ทางตรงผ่านทาง เลือดมูล หรือเหงื่อ หรือไม่ก็ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือการสัมผัสติดต่อกับศพโดยไม่ได้มีการป้องกัน
-
-
ยาปลอมดับชีวี ยาดีขจัดโรคา รายการหนี้แผ่นดิน สุขภาพดีกับพรีม่า "ยาปลอมดับชีวี ยาดีขจัดโรคา"ผู้ดำเนินรายการ : คุณวารินทร์ สัจเดววิทยากร : นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส อดีตนายกแพทยสมาคมแห่ง...
-
# สธ.เผยพบป่วยไข้เลือดออก 6 พันรายเร่งกำจัดยุ่งลาย และกิจกรรม 5 ป 1 ข. กระทรวงสาธารณสุข เผย รอบเกือบ 5 เดือนปีนี้ พบป่วยไข้เลือดอก 6,000 กว่าราย เสียชีวิต 4 ราย เร่งทุกพื้นที่กำจัด...
-
กินียันไวรัสอีโบลาต้นตอโรคระบาดร้ายแรง สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโกนากรีประเทศกินี ว่ากระทรวงสาธารณสุขกำลังหาทาง ที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา ที่กำลังระบาดอย่างรุนแ...
-
น้ำตานางเงือก!!....อันตรายใกล้ตัวลูกคุณ หลายคนคงคุ้นชื่อกับวัตถุดูดน้ำหรือ ตัวดูดน้ำที่มีการระวางโทษและให้หยุดจำหน่าย เมื่อเกิดเหตุการณ์อันตรายในเด็กในหลายปีก่อน จนตอนนี้ข่าวซา ๆ ล...
-
พบการระบาดของไข้หวัดนก สายพันธ์ H5N6 ที่จีนรายแรกพบการระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสู่คน สายพันธ์ุ H5N6 ในชายอายุ 49 ปีที่มนฑลเสฉวน เป็นครั้งแรกและเสียชีวิตไปจากภาวะปอดอักเสบรุนแรงหลังจาก...
-